ความงดงามแห่งยุค 2000 ได้กลับมาอย่างยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะด้านดีไซน์และการถ่ายภาพ และวัฒนธรรมย่อยอย่างอีโมก็หวนคืนสู่ยุคขาขึ้นด้วยเช่นกัน
สุนทรียศาสตร์ของอีโมคือความหวนคิดถึงอดีตของชาว Gen Y เนื่องด้วยพวกเขาเป็นศูนย์กลางของกระแสนี้ในช่วงที่พวกเขาเป็นวัยรุ่น ในช่วงก่อนปี 2000 อีโมถูกมองว่าเป็นพวกชอบแต่งตัวจัดจ้านและชอบฟังเพลงป๊อป สวมเสื้อผ้าพร้อมเครื่องประดับแวววับและโทนการแต่งตัวเหมือนสีหมากฝรั่ง ตอนนี้สุนทรียศาสตร์แห่งอีโมได้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ e-boy หรือ e-girl
ในยุคปี 2000 ช่วงที่อีโมกำลังเป็นที่นิยม ช่วงที่อินเตอร์เน็ตกำลังเขย่าโลกของเหล่าวัยรุ่น ต้องขอบคุณการเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดียที่ให้พื้นที่กับพวกเขาได้แสดงออกในแบบของตัวเอง
นี่คือพื้นฐานสำคัญของอีโมสไตล์ ซึ่งคุณจะรู้ได้จากภาพแตกๆเป็นพิกเซลและองค์ประกอบในการออกแบบต่างๆ การมีความสุขกับความไม่สมบูรณ์แบบของโลกอินเตอร์เน็ตช่วงแรกๆนี่แหละ ที่ทำให้สไตล์อีโมเป็นสิ่งที่น่าสนใจในยุคสมัยนี้

การถ่ายภาพในช่วงนั้นมีสไตล์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ซึ่งก็กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งเช่นเดียวกัน ภาพถ่ายเป็นส่วนสำคัญในการปลุกเทรนด์นี้ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ให้เหมือนเดิมกับความเป็นอีโมในแบบดั้งเดิมที่เคยเป็น
ไม่ว่าเทรนด์ไหนจะกลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง ก็มักจะมีวิธีที่ทั้งใหม่และน่าสนใจในการนำองค์ประกอบต่างๆมาปรับเปลี่ยน ขัดเกลาให้วัฒนธรรมย่อยนี้กลับมาโดยใช้โทนสีที่หลากหลาย ฟอนต์ตัวหนังสือและลวดลายต่างๆ
โดยต่อไปเราจะมาเผยเคล็ดลับในการสร้างรวมสุนทรีศาสตร์แห่งอีโมให้เข้ากับงานออกแบบของคุณ

นำโทนสีของอีโมมาปรับใช้
สไตล์ของอีโมส่วนมากเน้นที่ความมืดและชุดสีโทนเดียว สีดำและสีโทนเข้มเป็นชุดสีหลักของธีมในทุกๆองค์ประกอบ คุณจะเห็นสีสว่างเป็นส่วนน้อยแต่อยู่ในหลายๆตำแหน่ง
คุณสามารถเพิ่มสีเรืองแสงเข้าไปนิดหน่อยเพื่อทำให้นึกถึงในแฟชั่นยุค 2000 สีแดงลายจุดหรือสีแดงเบอร์กันดี้เป็นที่นิยมมากๆในช่วงเวลานั้น ทั้งสองรูปแบบเข้ากันได้ดีกับชุดสีโทนเดียว
กุญแจสำคัญในการออกแบบสไตล์อีโมคือมีโทนสีดำหรือสีเทาเข้มเป็นสีพื้นหลักในทุกๆงานออกแบบของคุณ
มีคนกล่าวว่า คุณสามารถพลิกแพลงและทดลองเพิ่มสีรองต่างๆลงไปในงานได้เสมอ ตราบใดที่สีพื้นหลักยังคงเดิม
ที่สำคัญถ้าคุณอยากให้งานนี้ไม่หลุดธีมคือต้องมั่นใจว่าสีดำคือสีหลักของงาน นอกจากช่วยให้ผลงานเป็นสีดำและดูเคร่งขรึมแล้ว สีดำยังเป็นมากกว่าแค่สีเพราะอีโมนั้นสีดำคือสัญลักษณ์และจิตวิญญาณของพวกเขา


การใช้พื้นหลังสีดำหรือสีเข้มเป็นหลักในการออกแบบช่วยให้งานของคุณโดดเด่นเห็นชัด และยิ่งไปกว่านั้น คุณสามารถใช้สีขาวหรือข้อความสีขาวสร้างความคอนทราสตร์ขัดกับสีดำได้
สิ่งสำคัญคือคุณต้องมีความต่อเนื่องในการใช้ชุดสีนี้กับงานอื่นๆนอกจากการออกแบบ ซึ่งรวมถึงการถ่ายรูปด้วยนั่นเอง

เลือกฟอนต์และการดีไซน์ตัวอักษรสไตล์พังค์
เพื่อรวมความอีโมเข้ากับลักษณะของฟอนต์ ต้องนึกย้อนไปถึงช่วง Myspace days เว็บฟอนต์ยอดนิยมสมัยก่อน และแฟชั่นแบบ McBling-inspired typefaces ทั้งสองได้ถูกเรียกขานให้กลับมาสู่ยุคนี้อีกครั้ง
ปกอัลบั้มสำหรับอีโมช่วงยุค 2000 และวงดนตรีป๊อปพังก์สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการเลือกฟอนต์ของคุณได้ ถ้าคุณมองย้อนกลับไปในสมัยนั้น คุณจะเห็นการใช้ลายมือและการออกแบบตัวอักษรแหลมๆ หยึกหยักเสียส่วนใหญ่
คุณสามารถผสมผสานฟอนต์ที่มีลูกเล่นกับความทันสมัยเข้าด้วยกันได้ ออกแบบข้อความให้สละสลวยเพื่อให้เกิดคอนทราสต์และวางพื้นฐานงานดีไซน์ให้ออกมาตอบโจทย์ตัวคุณเอง

การรวมฟอนต์เข้าด้วยกันคือการนำฟอนต์มาวางเทียบเพื่อให้สไตล์ของคุณผุดขึ้นมา ถ้าคุณต้องการให้ฟอนต์มีลูกเล่นกว่าเดิม ลองนำลายมือฟอนต์จากงานของคุณมาจับคู่กับฟอนต์ Sans Serif เพื่อให้แบบฟอนต์หลักเด่นขึ้น

ลุยแนวกรันจ์ให้สุดตัว
สุนทรียศาสตร์ของอีโมเกี่ยวข้องกับพื้นผิวและลวดลายแนวกรันจ์ คุณสามารถใช้พื้นผิวแบบหยดน้ำหมึกลง พื้นผิวแบบเดาสุ่ม หรือแบบลายน้ำหยดเพื่อที่จะรวมลายต่างๆเข้าด้วยกัน
อีกหนึ่งวิธีเพื่อหาแรงบันดาลใจคือพยายามมองไปที่ปกอัลบั้มเพลงและดูรอบๆว่ามีรูปแบบและพื้นผิวแบบไหนบ้างที่เด่นชัด
ลิสต์เพลงของ Rolling Stone ที่ชื่อว่า “40 Greatest Emo Albums of All Time” ถือเป็นจุดเริ่มที่ดีถ้าคุณจะเริ่มแนวทางนี้

วิธีที่เร็วและง่ายในการเพิ่มความเป็นอีโมให้กับงานออกแบบของคุณคือการรวมพื้นผิวในรูปแบบต่างๆไว้บนภาพถ่ายหรืองานล่าสุดของคุณ มันจะดูดีมากบนโลโก้ กราฟฟิกบนโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่บนอัลบั้มศิลปะของคุณเอง

ภาพถ่ายชาวอีโม
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น รูปภาพเป็นบทบาทสำคัญของเทรนด์นี้ในช่วงก่อนปี 2000 ยุคนั้นเว็บ Myspace ครองใจเหล่าวัยรุ่นและมีการใช้งานเยอะที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้โพสภาพถ่ายตามสไตล์แฟชั่นในยุคนั้น
ทุกวันนี้ผู้คนใช้เวลามากกว่าเดิมบนโลกโซเชียล โดยเฉพาะแอพ TikTok แอพที่มียอดวิวถึง 41 ล้านวิวกับคลิปสอนการแต่งภาพ “สไตล์อีโม”

ย้อนกลับไปในยุคที่โทรศัพท์พึ่งจะมีกล้องใหม่ๆ ซึ่งคุณภาพของรูปก็พิกเซลแตก หยาบ ไม่คมชัด การแต่งภาพให้หวนนึกถึงสไตล์นี้หรือเทรนด์ Cyberpunk ต้องดึงความอิ่มตัวของสีและคอนทราสตร์ขึ้น แล้วใส่พื้นผิวเดาสุ่มที่เคยพูดถึงก่อนหน้าเข้าไปเป็นองค์ประกอบ
สุนทรียศาสตร์ของความเป็นอีโมทำให้คนที่เติบโตในช่วงปี 2000 นึกย้อนถึงเรื่องราวดีๆในอดีต ต้องขอบคุณวัฎจักรของเทรนด์ที่นำกระแสอีโมกลับมาเป็นที่รักของ Gen Z อีกครั้งหนึ่ง
ใช้เทคนิคเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์! เติมความคิดถึงอดีตและเติมชีวิตใหม่ให้กับเส้นทางที่สร้างสรรค์ของคุณ
บทความโดย: How to Incorporate the Emo Aesthetic Into Design
บทความนี้เรียบเรียงโดย ณัฐนนท์ อุทัย (บิว น้องฝึกงาน)