สังเกตกันไหมว่าในปัจจุบันนี้ เนื้อหาที่เป็นวิดีโอและเสียงมีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์ YouTube Tiktok พอดแคสต์ งานโฆษณา หรือแม้แต่การเปิดเพลงในร้านค้า ล้วนต้องใช้ ‘ลิขสิทธิ์เพลง’ อย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย ที่อาจทำให้เกิดค่าปรับมหาศาล หรือแม้กระทั่งการถูกฟ้องร้อง ดังนั้น การรู้วิธีใช้เพลงและการศึกษาข้อกฎหมายลิขสิทธิ์เพลงให้ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไม่ควรละเลย
ลิขสิทธิ์เพลง คืออะไร

ลิขสิทธิ์เพลง คือ สิทธิ์ตามกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของผลงานเพลง ครอบคลุมทั้งผู้แต่งเนื้อร้อง ผู้ประพันธ์ทำนอง ศิลปินที่บันทึกเสียง และผู้ผลิตเสียง กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดให้เจ้าของสิทธิ์สามารถควบคุมการใช้ผลงานเพลงในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือแจกจ่ายเพลงของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลภายนอก สิทธิ์นี้ยังครอบคลุมไปถึงการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ (Licensing) และการเก็บค่าลิขสิทธิ์จากการใช้เพลงในเชิงพาณิชย์ เช่น การใช้ในโฆษณา ภาพยนตร์ หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ เป็นต้น
ลิขสิทธิ์เพลงคุ้มครองอะไรบ้าง
ข้อกฎหมายลิขสิทธิ์เพลงครอบคลุมองค์ประกอบหลายส่วน ซึ่งรวมถึง
- เนื้อร้องและทำนอง – คุ้มครองงานแต่งเพลงในรูปแบบลายลักษณ์อักษรและเสียง
- บันทึกเสียง (Sound Recording) – คุ้มครองเวอร์ชันที่ถูกบันทึกเสียงโดยศิลปินและโปรดิวเซอร์
- การแสดงสด – คุ้มครองสิทธิ์ของศิลปินต่อการนำเพลงไปใช้ในงานแสดงสด
- การเผยแพร่และการดัดแปลง – ควบคุมการใช้เพลงในสื่อโฆษณา หรือดัดแปลงเนื้อหาต้นฉบับ
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์เพลงได้ที่: กรมทรัพย์สินทางปัญญา
การกระทำที่เป็นการละเมิดลิขทธิ์เพลง
ตัวอย่างการกระทำที่ควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง เช่น
- ใช้เพลงลิขสิทธิ์ประกอบวิดีโอโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ดาวน์โหลดและเผยแพร่เพลงที่มีลิขสิทธิ์เพลงจากแหล่งที่ผิดกฎหมาย
- นำเพลงลิขสิทธิ์ไปดัดแปลงหรือรีมิกซ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
- เปิดเพลงลิขสิทธิ์ในสถานที่สาธารณะหรือธุรกิจโดยไม่ได้ขออนุญาต เช่น การเปิดเพลงในร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นต้น
วิธีขอลิขสิทธิ์เพลง

หากคุณเป็นเจ้าของเพลงและต้องการขอลิขสิทธิ์เพลงของตนเอง สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ลข.01: ไปที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และดาวน์โหลดเอกสาร ลข.01 เพื่อใช้ในการแจ้งจดลิขสิทธิ์เพลง
- บันทึกเพลงลงในแผ่นซีดี: ให้บันทึกเพลงที่ต้องการขอลิขสิทธิ์ลงในแผ่นซีดี พร้อมระบุชื่อเพลงและชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน จากนั้นเจ้าหน้าที่จะติดสติ๊กเกอร์หมายเลขกำกับไว้ที่แผ่นซีดี
- เตรียมเอกสารประกอบ: สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของผลงาน และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม ลข.01 ตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด
- ยื่นเอกสารที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา: นำเอกสารที่กรอกเสร็จแล้ว พร้อมกับแผ่นซีดีไปยื่นที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
- รับบัตรคิวหมายเลข 4: เมื่อไปถึงที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้กดบัตรคิวในหมวด ‘ลิขสิทธิ์’ และรอเรียกตามลำดับ
- ยื่นเอกสารและตรวจสอบข้อมูล: ส่งเอกสารทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ หากไม่มีข้อผิดพลาด เจ้าหน้าที่จะปั๊มหมายเลขลงในเอกสารเพื่อเป็นหลักฐาน
- ถ่ายสำเนาเอกสารเก็บไว้: หลังจากได้รับเอกสารที่ได้รับการปั๊มหมายเลขแล้ว ให้นำไปถ่ายสำเนาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 1 ชุด
- ยื่นสำเนาเอกสารอีกครั้ง: ส่งสำเนาเอกสารให้เจ้าหน้าที่อีกครั้ง จากนั้นรอรับใบแจ้งลิขสิทธิ์ ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะรับด้วยตนเองหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่สะดวก
วิธีตรวจสอบลิขสิทธิ์เพลง
การตรวจสอบลิขสิทธิ์เพลงก่อนนำไปใช้งานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมีวิธีตรวจสอบลิขสิทธิ์เพลงที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช่น
1. ใช้ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ของแพลตฟอร์ม
- YouTube Content ID – ระบบของ YouTube จะสามารถตรวจจับเพลงที่ติดลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติ หากมีการอัปโหลดวิดีโอที่ใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ ระบบจะส่งคำเตือนให้ผู้ใช้ทราบ
- Facebook & Instagram Rights Manager – สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการตรวจสอบว่าเพลงสามารถใช้บนแพลตฟอร์มของ Meta ได้หรือไม่ ระบบนี้ช่วยให้สามารถตรวจสอบสิทธิ์ของเพลงก่อนนำไปใช้
2. ใช้เว็บไซต์ค้นหาเพลงที่มีลิขสิทธิ์
- Tunefind – เว็บไซต์ที่ช่วยตรวจสอบว่าเพลงถูกใช้ในรายการทีวีหรือภาพยนตร์ใดบ้าง ซึ่งสามารถช่วยให้ทราบถึงแหล่งที่มาของเพลง
- Shazam – แอปพลิเคชันที่สามารถตรวจจับเพลงและแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ทำให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาและสิทธิ์การใช้งานของเพลงได้
- WhoSampled – ใช้สำหรับตรวจสอบว่าเพลงที่คุณต้องการใช้งานมีการรีมิกซ์หรือใช้ตัวอย่างจากเพลงอื่นหรือไม่ ซึ่งอาจมีผลต่อสถานะลิขสิทธิ์ของเพลงนั้น
3. ตรวจสอบเงื่อนไขการใช้งานเพลงจากแหล่งที่ซื้อ
หากคุณซื้อเพลงจากแพลตฟอร์มเพลงที่ให้บริการเพลงแบบ Royalty-Free ควรอ่านเงื่อนไขการใช้งานให้ละเอียดว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง ตรวจสอบว่าเพลงสามารถใช้เพื่อการค้าหรือเฉพาะการใช้งานส่วนตัวได้หรือไม่ และมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานในแพลตฟอร์มใดบ้าง เช่น YouTube, TikTok หรือ Facebook
สายครีเอทีฟเลือกใช้เพลงได้อย่างมั่นใจ หมดกังวลปัญหาด้านลิขสิทธิ์เพลง เพียงซื้อเพลงจากแพลตฟอร์มชั้นนำอย่าง Shutterstock กับ Number 24 x Shutterstock ผู้ให้บริการ Shutterstock แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปีในธุรกิจลิขสิทธิ์ภาพ วิดีโอ และเพลง เรามีทีมงานคนไทยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดการลิขสิทธิ์และเอกสารต่าง ๆ อย่างครบวงจร เพื่อให้คุณสามารถโฟกัสกับงานได้เต็มที่
โดยเพลงจาก Shutterstock เป็นเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ สามารถใส่เลข Youtube ID ใน account Shutterstock ได้ เพื่อมั่นใจว่าเพลงที่ใช้จากเราสามารถใช้ได้ ไม่ติดเหลืองใน Youtube
แชร์ Tips การเลือกใช้เพลงประกอบให้ถูกลิขสิทธิ์

อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงเข้าใจแล้วว่าลิขสิทธิ์เพลงคืออะไร และทำไมจึงควรให้ความสำคัญ ในหัวข้อนี้เราจะมาแชร์ Tips ดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณเลือกใช้เพลงประกอบได้อย่างถูกลิขสิทธิ์กัน
เลือกเพลงจากแหล่งที่ถูกลิขสิทธิ์
การเลือกใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถเลือกเพลงจากแพลตฟอร์มที่ให้บริการเพลงปลอดลิขสิทธิ์ เช่น Shutterstock, YouTube Audio Library, Epidemic Sound และ Artlist ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้บริการเพลงฟรีหรือมีค่าธรรมเนียมที่ชัดเจนสำหรับการใช้งานในเชิงพาณิชย์
ซื้อ License จากเว็บไซต์เพลงเชิงพาณิชย์
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เพลงเพื่อการทำธุรกิจ เช่น การทำ Digital Marketing วิดีโอโปรโมชัน หรือคอนเทนต์ที่สร้างรายได้ ควรซื้อ License จากเว็บไซต์ที่ให้บริการเพลงเชิงพาณิชย์ เช่น Shutterstock เพื่อให้สามารถใช้เพลงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและสามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อกำหนดการใช้งานได้อย่างชัดเจน
ซื้อ License จาก Shutterstock ถูกลิขสิทธ์ ได้ที่ Number 24 x Shutterstock พันธมิตรการขายที่ได้รับสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของ Shutterstock ในประเทศไทย และร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านเทคโนโลยี AI และบริการด้านลิขสิทธิ์ พร้อมบริการที่ช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้น หมดกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ มั่นใจ สามารถใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้
ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง
หากต้องการใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ เช่น เพลงฮิต เพลงประกอบภาพยนตร์ หรือเพลงของศิลปินที่รู้จัก ควรติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์หรือค่ายเพลงโดยตรงเพื่อขออนุญาต โดยสามารถส่งอีเมลหรือหนังสือขออนุญาตเพื่อรับสิทธิ์ใช้งานเพลงเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเจ้าของลิขสิทธิ์
ตรวจสอบเงื่อนไขการใช้งานให้ชัดเจน
แม้ว่าเพลงบางเพลงจะมีลิขสิทธิ์แบบ Royalty-Free หรือ Creative Commons (CC) แต่ก็อาจมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการค้า หรือจำเป็นต้องให้เครดิตเจ้าของผลงาน ควรตรวจสอบเงื่อนไขลิขสิทธิ์เพลงให้ละเอียดก่อนนำไปใช้งาน เพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายในภายหลัง
หลีกเลี่ยงการใช้เพลงที่ดาวน์โหลดจากแหล่งที่ไม่ถูกต้อง
การใช้เพลงที่ดาวน์โหลดจากแหล่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์หรือเว็บไซต์ผิดกฎหมาย เช่น เว็บไซต์ที่แชร์ไฟล์เถื่อน อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องและทำให้คอนเทนต์ถูกลบออกจากแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังอาจทำให้บัญชีของคุณถูกแบนหรือถูกเรียกเก็บค่าปรับจำนวนมาก ควรเลือกใช้เพลงจากแหล่งที่ถูกต้องและมีการระบุเงื่อนไขการใช้งานที่ชัดเจน
*หากใช้เพลงในเชิงพาณิชย์ ควรเก็บหลักฐานการซื้อหรืออนุญาตไว้ในกรณีเกิดข้อพิพาทเรื่องลิขสิทธิ์ในอนาคต*
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง
จะรู้ได้อย่างไรว่าเพลงไหนติดลิขสิทธิ์
สามารถตรวจสอบลิขสิทธิ์เพลงและเงื่อนไขการใช้งานได้โดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น
- YouTube Content ID: ระบบจะตรวจจับเพลงที่ติดลิขสิทธิ์อัตโนมัติเมื่ออัปโหลดวิดีโอ
- Facebook & Instagram Rights Manager: สำหรับตรวจสอบเพลงที่สามารถใช้ได้บนแพลตฟอร์มของ Meta
- SoundCloud & Twitch Copyright Detection: ตรวจสอบเพลงที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์ก่อนเผยแพร่
- เว็บไซต์เช็กเพลงลิขสิทธิ์: เช่น Tunefind และ Shazam
เปิดเพลงในร้านยังไงไม่ให้ติดลิขสิทธิ์
ธุรกิจที่ต้องการเปิดเพลงลิขสิทธิ์ในร้านค้าหรือสถานที่สาธารณะ สามารถใช้บริการที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องด้านลิขสิทธิ์เพลง เช่น
- ซื้อใบอนุญาตจากองค์กรที่ดูแลลิขสิทธิ์เพลง เช่น GMM Grammy Licensing
- ใช้บริการเพลงสำหรับธุรกิจ เช่น Soundtrack Your Brand, CloudCover Music, หรือ Mood Media ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในเชิงพาณิชย์
ลิขสิทธิ์เพลงละกี่บาท
ราคาค่าลิขสิทธิ์เพลงขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน และอัตราค่าบริการของบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงเช่น
- เพลงสำหรับการค้า (Commercial License): เริ่มต้นที่หลักพันต่อเพลง
- เพลงใช้ในโฆษณาออนไลน์: อาจมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่หลักพันบาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการใช้งาน
- ลิขสิทธิ์เพลงสำหรับเปิดในร้านค้า: มักมีค่าบริการรายเดือนหรือรายปี โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 500 – 5,000 บาทต่อเดือน
ใช้เพลงตัดต่อคลิปกี่วินาที ถึงจะไม่โดนลิขสิทธิ์
ไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนวินาทีในการใช้เพลงโดยไม่ติดลิขสิทธิ์ เนื่องจากระบบ AI และแพลตฟอร์ม Streaming สามารถตรวจจับเพลงได้แม้เพียงไม่กี่วินาที เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง จึงควรตรวจสอบเงื่อนไขการใช้งานให้ชัดเจน และเลือกใช้เพลงจากแหล่งที่มีลิขสิทธิ์
สรุป
การใช้เพลงในคอนเทนต์หรือการสร้างแบรนด์ต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์เพลงเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย การเลือกใช้เพลงจากแหล่งที่ถูกลิขสิทธิ์ ซื้อ License ขออนุญาตจากเจ้าของเพลงโดยตรง หรือซื้อเพลงกับตัวแทนจำหน่ายที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านลิขสิทธิ์อย่าง Number 24 x Shutterstock ผู้ให้บริการ Shutterstock แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ที่พร้อมให้บริการคุณอย่างครบวงจร
ติดต่อเราได้ที่
โทร: 099-459-5244
Website: https://number24.co.th/
Inbox: https://bit.ly/3RtAnGn
LINE Official Account: https://bit.ly/3Rz00FU
Instagram: https://bit.ly/3qi0VOR